วันอาทิตย์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ยากับภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ


ยา และ เซ็กซ์ พอเอ่ยถึงเรื่องยาและเซ็กซ์ขึ้นมา หลายคนมักจะคิดไปถึง ยาปลุกเซ็กซ์ หรือยาบำรุงกำลังทางเพศ เนื่องจากเวลาคนเราเกิดอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศหรือเซ็กซ์เสื่อม มักจะพยายามสรรหายาดีๆ เพื่อมาแก้ไขภาวะเซ็กซ์เสื่อมให้กลับมาดีดังเดิม หารู้ไม่ว่ายาบางตัวที่คิดกันว่าน่าจะช่วยกระตุ้นอารมณ์เพศ และความต้องการทางเพศให้ดีขึ้นนั้น บางครั้งไม่ออกฤทธิ์สมดังที่คาดหมาย ซ้ำร้ายอาจไปกดอารมณ์ทางเพศของคุณอีกด้วย




ยาต่างๆ ที่เราใช้รักษาโรคทั่วไปทุกวันนี้ ไม่ว่าจะเป็นยาบรรเทาอาการคัดจมูกรักษาโรคหวัด ยารักษาโรคกระเพาะอาหาร ยารักษาความดันโลหิตสูง หรือแม้กระทั่ง
คนจำนวนไม่น้อยอยากทราบว่ายาที่รับประทานอยู่ว่าทำให้เสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้หรือไม่ ดิฉันจึงอยากถ่ายทอดเรื่องยาที่ทำให้เกิดภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ เพื่อให้คุณได้รับความรู้ ความเข้าใจ และรู้วิธีปฏิบัติตัวที่ถูกต้องเมื่อสงสัยว่าเกิดอาการเซ็กซ์เสื่อมจากยา และก่อนที่จะกล่าวถึงยาที่ทำให้เกิดภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศนั้น อยากจะย้ำถึง ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ เสียก่อนจะได้เข้าใจว่าภาวะนี้เกิดขึ้นได้อย่างไรและมีสาเหตุจากอะไรได้บ้าง


ในเพศชาย หมายถึงภาวะที่อวัยวะเพศไม่สามารถแข็งตัวพียงพอที่จะมีเพศสัมพันธ์ การหลั่งผิดปกติ หรือการมีความต้องการทางเพศลดลง ที่เรียกว่า Erectile Dysfunction; ED หรือ Impotence พบมากตามอายุ ร้อยละ 5 ในผู้ที่อายุน้อยกว่า 40 ปี สำหรับผู้ที่อายุมากกว่า 65 ปีจะพบได้ร้อยละ 15 ถึง 25

ในเพศหญิง หมายถึง การไม่มีความต้องการทางเพศหรือความต้องการทางเพศลดลง ไม่มีอารมณ์เวลาถูกกระตุ้นทางเพศ รู้สึกอึกอัดเวลามีเพศสัมพันธ์ หรือไม่ถึงจุดสุดยอด เหล่านี้เป็นกลุ่มที่เรียกว่า Female Sexual Dysfunctionโดยไม่ขึ้นกับอายุ แต่ส่วนใหญ่เกิดในช่วงวัยทองในระยะที่ฮอร์โมนเริ่มจะลดลง

ส่วนมากภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศไม่ว่าจะในเพศชายหรือหญิงมักเป็นแค่ชั่วคราว แต่หากเป็นถาวรแสดงว่าอาจจะมีสาเหตุทางด้านจิตใจหรือทางร่างกาย สาเหตุทางด้านจิตใจ ได้แก่ ความเครียด ความวิตกกังวลเกี่ยวกับงาน ครอบครัว ความกลัวความล้มเหลวทางเพศสัมพันธ์ หรือถูกตำหนิจากคู่ครองทำให้หมดความมั่นใจ จนนำไปสู่ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศได้ สาเหตุทางร่างกาย เช่น อายุที่เพิ่มมากขึ้น การมีโรคประจำตัวหรือโรคเรื้อรังที่มีผลต่อหลอดเลือดแดง หลอดเลือดดำ หรือกล้ามเนื้อบริเวณอวัยวะเพศ เช่น โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง การผ่าตัดและอุบัติเหตุที่มีผลต่อเส้นประสาทที่ไปควบคุมการแข็งตัวของอวัยวะเพศ การได้รับอุบัติเหตุที่อวัยวะเพศ เส้นประสาทไขสันหลัง กระเพาะปัสสาวะ กระดูกเชิงกราน พฤติกรรมการดำรงชีวิตได้แก่ การสูบบุหรี่ และการดื่มสุรา คนที่สูบบุหรี่หรือดื่มสุราจะเกิดภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศได้สูงกว่าคนปกติที่ไม่สูบบุหรี่หรือดื่มสุรา การออกกำลังกายผู้ที่ออกกำลังกายสม่ำเสมอจะพบภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศได้น้อยกว่าผู้ที่ไม่ออกกำลังกาย และการได้รับบางชนิด


มียาหลายกลุ่มที่อาจเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ได้แก่
ยารักษาความดันโลหิตสูง ยาที่มีผลทำให้เกิดปัญหาดังกล่าวเรียงตามความถี่ของรายงานการเกิดเซ็กซ์เสื่อม ดังนี้ กลุ่มยาขับปัสสาวะที่ใช้ในโรคความดันโลหิตสูง เช่น Hydrochlorothiazide, Spironolactone พบได้บ่อยที่สุด รองมาเป็น ยาในกลุ่ม Beta-blocker เช่น Propranolol, Atenolol, Metoprolol รองลงมาเป็น ยากลุ่ม Alpha-blocker เช่น Prazosin และยากลุ่มอื่นๆ เช่น Hydralazine, Methyldopa, Enalapril ตามลำดับ
ยาที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ยาที่ใช้ในการรักษาผู้ที่มีปัญหาทางจิต ส่วนใหญ่จะมีกลไกการออกฤทธิ์ที่มีผลต่อระบบประสาทหรือสมองส่วนกลางทำให้การตอบสนองต่อสิ่งเร้าอารมณ์ลดลง เมื่อมีสิ่งกระตุ้นอารมณ์เพศเกิดขึ้น ความต้องการทางเพศจะลดลงมากกว่าครึ่งหนึ่ง และการตอบสนองจะน้อยกว่าคนที่ไม่ได้ใช้ยามาก ซึ่งเกิดได้ทั้งชายและหญิงที่ได้รับยากลุ่มนี้ แต่ชายจะมีผลทำให้อวัยวะเพศไม่แข็งตัว มีปัญหาเรื่องหลั่งได้

นอกจากนี้การรับประทานยากล่อมประสาทและยาคลายเครียดในกลุ่ม Benzodiazepine เช่น Lorazepam, Diazepam เมื่อใช้ไปนานๆ อารมณ์เพศจะลดลง หย่อนสมรรถภาพทางเพศ และอาจไม่ถึงจุดสุดยอดได้

ยาที่ใช้รักษาโรคระบบทางเดินอาหาร คนที่เป็นโรคกระเพาะลำไส้ส่วนใหญ่มักจะได้รับการรักษาด้วยยาลดการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารและยาเคลือบกระเพาะ ยาลดการหลั่งกรด เช่น Cimetidine และ Ranitidine นั้นมีผลต้านฤทธิ์กับฮอร์โมนเพศชาย ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการเกิดอารมณ์ทางเพศ เมื่อฮอร์โมนเพศชายถูกต้านฤทธิ์ความต้องการทางเพศจะลดลง เหตุการณ์นี้เกิดได้ทั้งชายและหญิง เพราะอารมณ์เพศหญิงนั้นมาจากฮอร์โมนเพศชายจำนวนเล็กน้อยที่ร่างกายสร้างขึ้น เมื่อหยุดรับประทานยาไปสักระยะหนึ่งแล้วอาการต่างๆ ก็จะกลับเป็นปกติ

ยาเคมีบำบัด และยารักษาโรคพาร์กินสัน ยาเคมีบำบัดบางตัว เช่น Flutamide, Bicalutamide หรือ ยารักษาพากินสัน เช่น Bromocriptine, Levodopa, Trihexyphenidyl จะออกฤทธิ์ต้านกับฮอร์โมนเพศชาย และทำให้สมรรถภาพทางเพศลดลงได้ ด้วยเหตุผลเดียวกับยาลดการหลั่งกรด

ยาบรรเทาอาการปวดและอักเสบ ยาที่ใช้บรรเทาปวดและอักเสบในคนที่เป็นโรคข้อและกล้ามเนื้อ มีรายงานว่าทำให้เกิดการหลั่งผิดปกติในเพศชาย รวมทั้งลดความต้องการทางเพศและเกิดการหย่อนสมรรถภาพทางเพศได้ด้วยในบางคน ตัวอย่างยาที่มีรายงาน เช่น Indomethacin, Ibuprofen, Naproxen

ยาลดน้ำมูกแก้คัดจมูก ยาลดน้ำมูกและยาบรรเทาอาการคัดจมูกบางตัว จะทำให้หลอดเลือดแดงหดตัว แต่ยานั้นมิได้ออกฤทธิ์แค่ที่โพรงจมูกเท่านั้น ยังสามารถไปออกฤทธิ์กับหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงอวัยวะเพศด้วย หากใช้นานๆ ก็อาจทำให้เลือดไปเลี้ยงยังอวัยวะเพศลดลง เมื่อไม่มีเลือดไปคั่งบริเวณอวัยวะเพศแล้ว ในผู้ชายก็ไม่เกิดการแข็งตัว ส่วนผู้หญิงอารมณ์เพศก็จะลดลงไปด้วยเช่นกัน ยาในกลุ่มนี้ ได้แก่ Pseudoephredine, Diphenhydramine, Hydroxyzine, Phenylephrine

เมื่อสงสัยว่ายาเป็นสาเหตุให้เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ จะทำอย่างไร?
คุณคงสงสัยว่าแล้วจะทำอย่างไรหากสงสัยว่ายาที่กำลังรับประทานทำให้เกิดภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ สิ่งที่ต้องทำอันดับแรกคือปรึกษาแพทย์ประจำตัวของคุณเกี่ยวกับอาการที่เกิดขึ้นเพื่อปรับเปลี่ยนแผนการรักษา ยาอาจเป็นสาเหตุของภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศที่เกิดขึ้นหรือไม่ก็ได้ อย่าเพิ่งโทษว่ายาเป็นสาเหตุจนกว่าจะได้ปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อน และห้ามหยุดรับประทานยาที่คุณสงสัยว่าทำให้เกิดการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศโดยเด็ดขาด เพราะยานั้นอาจเป็นยาที่จำเป็นต่อการรักษาโรคของคุณหากขาดยาอาจทำให้มีอันตรายถึงชีวิตได้ และเมื่อทราบแน่ชัดว่ายาที่รับประทานไม่ใช่สาเหตุของการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์เฉพาะทางของระบบทางเดินปัสสาวะ(Urologist) ทั้งนี้เพื่อค้นหาสาเหตุว่าอะไรที่เป็นต้นตอของปัญหา และทำการรักษาต่อไป


ติดต่อสอบถาม 085-9083178 วราพร


ดูข้อมูล  http://pannfitleadyx.blogspot.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น